What makes New Zealand milk so good? อะไรที่ทำให้นมโคจากประเทศนิวซีแลนด์นั้นเป็นนมที่ดี ?

S__302194694.jpg

อะไรที่ทำให้นมโคจากประเทศนิวซีแลนด์นั้นเป็นนมที่ดี ?

โคที่เลี้ยงด้วยหญ้าของนิวซีแลนด์ สามารถผลิตนมที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก

อะไรที่ทำให้นมโคจากประเทศนิวซีแลนด์นั้นเป็นนมที่ดี ?

โคที่เลี้ยงด้วยทุ่งหญ้าของนิวซีแลนด์ผลิตนมที่ดีที่สุดในโลก...มาทราบถึงเหตุผลในบทความนี้กัน

โคที่เลี้ยงด้วยหญ้าของนิวซีแลนด์ สามารถผลิตนมที่มีคุณภาพดีที่สุดในโลก

คุณภาพของนมโค ที่ผลิตได้นั้นสัมพันธ์โดยตรงกับอาหารและสิ่งแวดล้อมของโค จึงไม่น่าแปลกใจที่โคซึ่งเลี้ยงด้วยทุ่งหญ้าของนิวซีแลนด์ ได้กินหญ้าอันเขียวขจีของเรา ทำให้สามารถผลิตนมที่ดีที่สุดในโลก และนี่คือนมที่เปี่ยมไปด้วยสิ่งดีดีจากธรรมชาติ เราภาคภูมิใจที่ได้นำเสนอสู่โลกในฐานะผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์นมโคชั้นนำระดับโลก

ต้องขอบคุณภูมิอากาศแบบอบอุ่นของนิวซีแลนด์ โคที่นี่จึงสามารถกินหญ้ากลางแจ้งได้ตลอดทั้งปี และการที่เลี้ยงโคด้วยการให้กินหญ้า (แทนที่จะเป็นเมล็ดธัญพืช) ทำให้นมของพวกเขานั้นอุดมไปด้วยไขมันโอเมก้า-3, เบต้า-แคโรทีน และ CLA ที่มากกว่า (CLA คือกรดไขมันที่มีประโยชน์ที่เรียกว่า Conjugated Linoleic Acid)

สารอาหารที่สำคัญเหล่านี้ พร้อมด้วยการทดสอบอย่างเข้มงวดและมีมาตรฐานคุณภาพ ช่วยให้เราสามารถตอบสนองความคาดหวังสูงสุดของลูกค้าได้ แต่มาทำความเข้าใจให้ลึกลงไปอีกหน่อยเพื่อดูว่าอะไรอยู่เบื้องหลังปัจจัยเหล่านี้ และเหตุใดจึงมีความสำคัญ

โคที่เลี้ยงด้วยทุ่งหญ้าของนิวซีแลนด์ สามารถผลิตนมที่มีกรดไขมันได้อย่างมีความสมดุลมากขึ้น

ประโยชน์ของกรดไขมันจำเป็น เช่น โอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 เป็นที่รู้จักกันดี แต่ที่สำคัญคือความสมดุลของกรดไขมันเหล่านี้ และหลักฐานใหม่แสดงให้เห็นว่าอัตราส่วนที่สมดุลของกรดไขมันโอเมก้า 3 และโอเมก้า 6 (e.g. 50/50)  นั้นมีความสำคัญต่อสุขภาพของมนุษย์

อย่างที่คุณจะได้เห็น ว่าโคที่เลี้ยงด้วยทุ่งหญ้า (เช่นเดียวกับในนิวซีแลนด์) สามารถผลิตนมที่ให้ความสมดุลที่ดีกว่าเมื่อเทียบกับวัวที่เลี้ยงด้วยธัญพืช ในสัดส่วนที่สูงกว่า

จำนวนของหญ้าที่ได้กินในแต่ละวัน

All Pastures : กินหญ้าอย่างเดียว

Omega 3 = 17 (mg/fat)                                                      Omega 6 = 17 (mg/fat)

2/3 Pastures : กินหญ้า 2/3

Omega 3 = 14 (mg/fat)                                                      Omega 6 = 32 (mg/fat)

1/3 Pastures : กินหญ้า 1/3

Omega 3 = 9 (mg/fat)                                                        Omega 6 = 43 (mg/fat)

*ยิ่งกินหญ้ามากเท่าไร คุณภาพของนมก็จะยิ่งสูงขึ้นในองค์ประกอบของกรดไขมันไม่อิ่มตัวหลายตำแหน่ง

 

โคที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าของนิวซีแลนด์ผลิตนมที่มี CLA ที่เป็นประโยชน์มากกว่า

หลักฐานใหม่ๆในระยะหลังนี้แสดงให้เห็นประโยชน์ด้านสุขภาพในเชิงบวกที่น่าสนใจของ CLA (CLA คือกรดไขมันที่มีประโยชน์ที่เรียกว่า Conjugated linoleic acid) รวมถึงมีศักยภาพในการต้านการอักเสบ

การวิจัยรายละเอียดเพิ่มเติมกำลังดำเนินอยู่ แต่ ณ ปัจจุบันทำให้มั่นใจได้เมื่อรู้ว่าโคที่เลี้ยงในทุ่งหญ้ามี CLA ที่เข้มข้นในน้ำนมมากกว่า (มากถึงสองเท่า) เมื่อเทียบกับโคที่เลี้ยงด้วยเมล็ดพืช

ผลิตภัณฑ์นมของนิวซีแลนด์อุดมไปด้วยเบต้า-แคโรทีนสูง

หากคุณเคยสงสัยว่าทำไมเนยนิวซีแลนด์ของคุณ จึงมีสีทองตามธรรมชาติที่สวยงามทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับเบต้า-แคโรทีน

เบต้า-แคโรทีนเป็นสารตั้งต้นของวิตามินเอ (ซึ่งหมายความว่าถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของวิตามินเอที่พร้อมใช้งาน) วิตามินเอเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็น และเราต้องการวิตามินเอเพื่อสุขภาพผิว เยื่อเมือกบุผิว ระบบภูมิคุ้มกัน และการมองเห็นของเรา

เบต้า-แคโรทีนมักพบปริมาณมากในอาหารจากพืชสดบางชนิด เช่น หญ้า ดังนั้นผลิตภัณฑ์นมจากโคที่เลี้ยงในทุ่งหญ้าอาจมีสารอาหารนี้เข้มข้นกว่า นี่เป็นอีกเหตุผลที่โคนิวซีแลนด์สามารถผลิตนมที่ดีที่สุดในโลก

 

ข้อมูลจาก : https://www.nzmp.com/global/en/news/what-makes-nz-milk-so-good.html

REFERENCES

[1] Candela G., Lopez B., Kohen L. Importance of a balanced omega 6/omega-3 ratio for the maintenance of health. Nutritional recommendations. Nutr Hosp. 2011;26(2):323-329.

[2] Clancy K. Greener Pastures. How grass-fed beef and milk contribute to healthy eating. Union of Concerned Scientists. 2006.

[3] Dhiman T R., Anand GR.. et al. Conjugated linoleic acid content of milk from cows fed different diets. J Dairy Sci 1999;82(10):2146-56.

[4] Jensen, S. K. Quantitative secretion and maximal secretion capacity of retinol, beta-carotene and alpha-tocopherol into cows' milk. J Dairy Res. 1999; 66(4):511-22.

[5] Searles, SK et al, "Vitamin E, Vitamin A, and Carotene Contents of Alberta Butter." Journal of Dairy Science, 1969; 53(2) 150-154.

Su Vi